การพัฒนารูปแบบการตลาดข้าวอินทรีย์สำหรับเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบนDeveloping an Organic Rice Marketing Model for Farmers
in Upper Northern Region
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานด้านการ
ตลาดข้าวอินทรีย์ 2) สำรวจความคิดเห็นต่อประสิทธิผลของการดำเนินงานด้านการตลาดข้าวอินทรีย์
3) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานด้านการตลาดข้าวอินทรีย์ 4) พัฒนารูปแบบการ
ตลาดข้าวอินทรีย์ที่เหมาะสมกับเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงปริมาณ
และเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์จำนวน 385 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบ
หลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรมีความเห็นว่าประสิทธิผล
ของการดำเนินงานด้านการตลาดข้าวอินทรีย์อยู่ในระดับมาก อายุ ระดับการศึกษา การประกอบอาชีพ
เสริม ระยะเวลาที่เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร การได้รับการอบรมเกษตรอินทรีย์ การได้รับการรับรอง
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารออนไลน์ มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานด้าน
การตลาดข้าวอินทรีย์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 การมีตำแหน่งในชุมชน และประสบการณ์ผลิตข้าว
อินทรีย์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 โดยตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถอธิบายความผันแปรของการ
ดำเนินงานด้านการตลาดข้าวอินทรีย์ได้ ร้อยละ 85.7 สำหรับการพัฒนารูปแบบการตลาดข้าวอินทรีย์
ที่เหมาะสมกับเกษตรกร ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้มาจากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling)
ได้แก่ เกษตรกร ผู้เชี่ยวชาญด้านข้าวอินทรีย์และด้านการตลาด รวม 39 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการ
สนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการตลาดข้าวอินทรีย์ที่เหมาะสมกับ
เกษตรกร เป็นรูปแบบการตลาดที่ยึดถือผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 12 องค์
ประกอบ มีแนวคิดการตลาดที่สำคัญคือ การสร้างความแตกต่าง การสร้างค่านิยม การสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค และการสร้างความสัมพันธ์ ส่วนกลยุทธ์การตลาดข้าวอินทรีย์ แบ่งออกเป็น
กลยุทธ์เกี่ยวกับเกษตรกร กลยุทธ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์การสื่อสาร และกลยุทธ์เกี่ยวกับผู้บริโภค