การทดสอบเชิงประจักษ์ทางสถิติในการเลือกตัวแปรพยากรณ์สำหรับแบบจำลอง
ฟังก์ชันการผลิตข้าวนาปรังของจังหวัดสุพรรณบุรีThe Statistically Empirical Test of Predictive Variable Selection for
Production Function of Off-Season Rice Prodution in
suphan Buri Province
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อหาปัจจัยและอิทธิพลของแต่ละปัจจัยที่ส่งผลต่อ
ฟังก์ชันการผลิตข้าวนาปรังของจังหวัดสุพรรณบุรีโดยใช้สมการถดถอยพหุคูณแบบเส้นตรง 4 วิธี 2)
เพื่อเปรียบเทียบและทดสอบความแตกต่างระหว่างปัจจัยและอิทธิพลของแต่ละปัจจัยโดยใช้สมการ
ถดถอยพหุคูณแบบเส้นตรง 4 วิธี และ 3) เพื่อหาข้อเสนอแนะวิธีการที่เหมาะสมในการหาปัจจัยและ
อิทธิพลของแต่ละปัจจัยที่ส่งผลต่อฟังก์ชั่นการผลิตข้าวนาปรังของจังหวัดสุพรรณบุรี
การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากแบบสอบถามข้อมูลผลผลิตและปัจจัยการผลิตข้าวนาปรัง
ในจังหวัดสุพรรณบุรีที่เป็นพื้นที่การผลิตข้าวที่สำคัญของประเทศไทยจำนวน 400 ราย การวิเคราะห์
ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ฟังก์ชั่นการผลิตด้วยสมการถดถอยพหุคูณแบบเส้นตรงโดยวิธีการประมาณ
การสมการถดถอยทางสถิติ 4 วิธีการ คือ 1) การทดสอบโดยการเลือกตัวแปรพยากรณ์โดยวิธีการเพิ่ม
ตัวแปร (Forward Selection) 2) การทดสอบโดยการเลือกตัวแปรพยากรณ์โดยวิธีการลดตัวแปร
(Backward Elimination) 3)การเลือกตัวแปรพยากรณ์โดยวิธีการเพิ่มตัวแปรแบบขั้นตอน (Stepwise
Regression) และ 4) การทดสอบโดยการเลือกตัวแปรพยากรณ์โดยวิธีการนำตัวแปรเข้าทั้งหมด
(Enter Regression) ค่าสถิติ คือ t-test, F-test, และค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (The Coefficient
of Determination: R2)
ผลการวิจัยพบว่า 1) การประมาณการฟังก์ชันการผลิตด้วยวิธีการเลือกตัวแปรพยากรณ์ด้วย
วิธีการทางสถิติทั้ง 4 ให้ผลการคัดเลือกตัวแปรพยากรณ์ที่เหมือนกันทุกประการ 2) ค่าประมาณการของพารามิเตอร์จากตัวแปรพยากรณ์ในฟังก์ชันการผลิตด้วยวิธีการเลือกตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 3 วิธี
การแรกให้ค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรพยากรณ์เท่ากันทุกประการ ยกเว้นวิธีการคัดเลือกตัวแปร
พยากรณ์โดยการเลือกตัวแปรพยากรณ์โดยวิธีการนำตัวแปรเข้าทั้งหมด (Enter Regression) นั้นค่า
ประมาณการของพารามิเตอร์จากตัวแปรพยากรณ์ในฟังก์ชันการผลิตแตกต่างจาก 3 วิธีการแรกเพียง
เล็กน้อย 3) ผลการทดสอบค่าสถิติในการประมาณการฟังก์ชันการผลิตด้วยค่า t-test, F-test ทั้ง 4 วิธี
การให้ค่าประมาณการพารามิเตอร์โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ และ
ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (The Coefficient of Determination: R2) ที่มากกว่า .95